วิสัยทัศน์ พันธกิจ

ประวัติความเป็นมาสำนักวิจัยและพัฒนา

วิทยาลัยเมืองหาดใหญ่ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของการส่งเสริมการประสานงานการศึกษาวิจัย และการบริหารวิชาการสู่สังคมด้วยมุ่งหวังให้เกิดการประยุกต์ใช้ผลงานวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาและพัฒนาภาคใต้ ตามแนวทางการพัฒนาประเทศที่เอื้ออำนวยประโยชน์ให้คนและชุมชนโดยเฉพาะภาคใต้ตอนล่าง

สำนักวิจัยและพัฒนามีความมุ่งมั่นในการเป็นสถาบันวิชาการ เพื่อการประสานงานการดำเนินการวิจัยที่มีคุณภาพและสร้างความพึงพอใจของผู้ใช้ประโยชน์จากการวิจัย การจะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว สำนักวิจัยและพัฒนาจึงกำหนดเป็นนโยบายด้านคุณภาพขององค์กรโดยได้จัดวางระบบการประกันคุณภาพสถาบัน เพื่อเป็นหลักประกันคุณภาพผลงานวิจัย และความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ โดยบุคลากรทุกคนในองค์กรมีส่วนในความรับผิดชอบยึดถือปฏิบัติตามระเบียบและขั้นตอนการทำงานในระบบ มาตรฐานอย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งมีการทบทวนและพัฒนาให้ระบบการประกันคุณภาพของสถาบันมีความทันสมัยมีประสิทธิภาพโปร่งใสตรวจสอบได้อย่างต่อเนื่อง

จึงได้จัดตั้งสำนักวิจัยและพัฒนาเมื่อ พ.ศ.2541 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินงาน วิจัยของบุคลากรในวิทยาลัย อีกทั้งงานวิจัยถือเป็นภาระกิจหลักที่สำคัญอย่างหนึ่งของสถาบันอุดมศึกษาในอันที่จะสร้างความรู้ใหม่ให้เกิดประโยชน์ให้กับสังคมโดยรวม

ปรัชญา

สำนักวิจัยและพัฒนา ได้นำปรัชญา “รู้คิด รู้ธรรม รู้สำเร็จ” ของมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ มาเป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อให้บุคลากรของสำนักฯ ใช้ความคิด ความรู้ ความสามารถ การไต่ตรองในการที่จะกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อมหาวิทยาลัย โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้อง และเกิดผลสำเร็จในงานที่ทำ

ปณิธาน

สำนักวิจัยและพัฒนา มีปณิธานที่สอดคล้องกับมหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ที่จะพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในสำนักฯ ให้เป็นบุคคลที่เพียบพร้อมทั้งในด้านวินัย คุณธรรม และสติปัญญา ความรอบรู้ โดยมีจุดมุ่งหมายหลัก คือ ให้บุคลากรมีวิสัยทัศน์ก้าวไกล เจริญก้าวหน้าในอาชีพ มีจิตสำนึกที่ดีงามสมบูรณ์ในคุณธรรมและจริยธรรมต่อสังคม

วิสัยทัศน์

       “มหาวิทยาลัยเอกชนชั้นนำที่มุ่งสร้างองค์ความรู้และแนวทางการแก้ปัญหาชุมชนท้องถิ่นเชิงสร้างสรรค์สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนในปี พ.ศ. 2570”

พันธกิจ

สำนักวิจัยและพัฒนา เป็นหน่วยงานที่มุ่งส่งเสริม สนับสนุน การผลิตและการเผยแพร่ผลงานวิจัย/นวัตกรรมที่มีคุณภาพ เพื่อยกระดับคุณภาพสังคม และชุมชนท้องถิ่น ด้วยระบบการบริหารจัดการงานวิจัยแบบมีส่วนร่วม และเน้นการพัฒนาโจทย์วิจัยด้วยการดำเนินการแบบมีส่วนร่วมกับผู้ใช้ประโยชน์โดยมีพื้นที่หลักในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ จังหวัดสงขลา พัทลุง สตูล ตรัง ยะลา นราธิวาส และปัตตานีมีรายละเอียดแนวดำเนินการ ดังนี้

    1. พัฒนาระบบและกลไกการบริหารจัดการงานวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพโดยหวังผลสำเร็จ (Output Oriented) ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ
    2. สนับสนุนและส่งเสริมให้คณาจารย์ดำเนินการวิจัยร่วมกับสถาบันการศึกษา ชุมชน วิสาหกิ ชุมชนและภาคเอกชนในการบริหารจัดการและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ องค์กร ชุมชนท้องถิ่น และสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ภาคใต้ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
    3. สนับสนุน ส่งเสริม และบริหารจัดการให้คณาจารย์และบุคลากรได้รับการพัฒนาเสริมสร้างองค์ความรู้ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ เพื่อผลิตผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ให้มีคุณภาพและได้รับประโยชน์อย่างคุ้มค่าด้วยการบูรณาการวิจัย การเรียนรู้ และบริการวิชาการ
    4. สนับสนุน ส่งเสริมการสร้างองค์ความรู้ และแนวทางการแก้ปัญหาชุมชนท้องถิ่น เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สังคม เศรษฐกิจสร้างสรรค์ และสิ่งแวดล้อมให้มีคุณภาพอย่างสร้างสรรค์ เกิดความมั่นคง และยั่งยืนนคง
    5. จัดการความรู้จากองค์ความรู้ที่ได้รับจากงานวิจัยและความรู้จากชุมชนอย่างมีระบบ เพื่อเผยแพร่และการนำไปใช้ประโยชน์

อัตลักษณ์

“ใช้กระบวนการวิจัยแบบบูรณาการศาสตร์เพื่อยกระดับคุณภาพชุมชน และสังคมไทยให้ดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขในวิถีใหม่และวิถีแห่งการเปลี่ยนแปลง”